หมากเม่า เป็นพืช Genus Antidesma ที่มีประมาณ 170 ชนิด (species) มีกระจายตัวอยู่ในเขตโลกเก่าของเขตร้อน (old world tropic) หมายถึง ยุโรป เอเชีย และอัฟริกา
รวมถึงหมู่เกาะโดยรอบ ในประเทศไทยมีมากในจังหวัดลพบุรี ปราจีนบุรี โดยเฉพาะเทือกเขาภูพาน จากผลการสำรวจของ Hoffman (2005)
.jpg)
สังเกตว่าสภาพธรรมชาติจะไม่พบการเข้าทำลายของศัตรูพืชอย่างรุนแรงมีข้อสังเกตคือต้นหมากเม่าเป็นที่อยู่อาศัยของมด โดยมักจะพบมดเป็นจำนวนมากอาศัยอยู่กับต้นหมากเม่า ซึ่งสอดคล้องกับรายงานของ Hoffman (2005) ที่ว่า "ต้นหมากเม่าไม่ถูกหนอนเจาะต้นเข้าทำลายแต่จะเป็นปัญหาในการเก็บผลหมากเม่า และก่อให้เกิดความรำคาญให้ผู้อยู่อาศัยในกรณีที่มีต้นหมากเม่าในบริเวณที่พักอาศัย"
1.คุณค่าของหมากเม่า
.jpg)
- กัลมาลและคณะ (2546) ศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อ HIV เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย มีศักยภาพในการกระตุ้นคุ้มกันและมีฤทธิ์ด้านเชื้อ HIV
- สมานและสำรี (2549) สกัดสารโพลีนอลที่จะได้จากไวน์แดงสยามมัวส์ (SRPE) และไม้มะเม่า (MPE) อัตรา 1 ต่อ 1 พบว่าสารโพลีนอลแสดงผลยับยั้งการเจริญเติบโตในเซลล์มะเร็ง 5 ชนิด ได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งเม็ดเลือดแดงตับอ่อนชนิที่ไวและดื่อต่อยา มะเร็งปิดชนิดเล็กที่ไว มีความเป็นไปได้ที่จะมีการพัฒนาสารโพลีนอลดังกล่าวเป็นสารอาหารที่ใช้ในการป้องกันและรักษามะเร็งในระดับคลินิกต่อไป
คุณค่าหมากเม่าในด้านโภชนะ
สถาบันและฝึกอบรมการเกษตรสกลนคร สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล (คณะทรัพยากรธรรมชาติ ม.เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร) ได้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับไม้ผลชนิดนี้ ผลงานของนาย สาทิศรัตน์ เหียงแก้ว ที่ได้พัฒนาเครื่องดื่มผลไม้จากผลหมากเม่าพบว่าเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคท่วไปเป็นอย่างดี โดยได้รับการอนุเคราะห์จากโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจาก พระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พบว่า "ผลหมากเม่าสุกมีคุณค่าของสารอาหารที่จำเป็นต่อความต้องการของร่างกายมนุษย์ และมีคุณค่าทางอาหารสูง"
- ไวน์หมากเม่า
- แหยมหมากเม่า
- น้ำหมากเม่าเข้มข้น
- น้ำหมากเม่าพร้อมดื่ม และน้ำหมากเม่าแท้
- ขนมหนึบเคี้ยวจากเนื้อและเปลือกผลหมากเม่า
- คุกกี้สอดไส้ หมากเม่า และชาหยอดหมากเม่า
---------------------------------------------------
อ่านหนังสือเพิ่มเติมได้ที่ ห้องสมุดงานวิจัย ชั้น 1 อาคาร 1 สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ วช.
---------------------------------------------------
ขอบคุณที่มาข้อมูล ภาพประกอบ
เรียบเรียงโดย ดร.สุดารัตน์ สกุลคู
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร
สนับสนุนงบประมาณโดย
โครงการเพิ่มประสิทธิภาพพืชเศรษฐกิจหลักของจังหวัดสกลนคร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2555
จัดทำโดย
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร
สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสกลนคร สำนักงานเกษตรจังหวัดสกลนคร
---------------------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น