เรียบเรียง โดย อมรรัตน์ หิญชีระนันทน์
ภารกิจข้อมูลวิจัยและการบริหารจัดการข้อมูล
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
เสาวรส (Passion fruit) มีชื่อที่ชาวบ้านเรียกกันอย่างหลากหลายว่า กะทกรก กะทกรกฝรั่ง เสาวรส กะทกรกยักษ์ กะทกรกสีดา และ เสาวรสสีดา สำหรับความเป็นมาของเสาวรส หรือกะทกรก เดิมนั้นอยู่แถบอเมริกาใต้ เริ่มมีการแพร่ขยายไปปลูกในภูมิภาคต่างๆ นับตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ ๑๙เป็นต้นมา สำหรับประเทศไทยได้นำพันธุ์เสาวรสเข้ามาปลูกตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๘ เสาวรสเจริญเติบโตได้ดีทางภาคเหนือ หรือเขตอากาศร้อนชื้นทางภาคกลางและภาคตะวันออก
ลักษณะทางกายภาพ
เสารสมีลำต้นเป็นเถา ผลกลมเปลือกแข็ง มีทั้งพันธุ์สีม่วงและสีเหลือง เป็นผลไม้ที่มีน้ำค่อนข้างเยอะ รสชาติออกเปรี้ยวและหอม เถามีมือเกาะออกตามซอกใบ เมื่อผลสุกจะมีสีต่างๆ ขึ้นอยู่กับชนิดของพันธุ์ สำหรับพันธุ์ที่นิยมปลูกมากในประเทศไทยมี ๓ พันธุ์ คือ
๑.พันธุ์สีม่วง ผลสุกผิวมีสีม่วงเข้ม มีรสชาติหวาน กลิ่นหอมน่ารับประทาน นิยมรับประทานผลสด
๒.พันธุ์สีเหลือง ผลสุกผิวสีเหลืองเป็นมัน เปลือกจะหนาและมีรสชาติเปรี้ยว เหมาะสำหรับการแปรรูปเป็นเครื่องดื่มและผสมน้ำผลไม้ชนิดต่างๆ
๓.พันธุ์ลูกผสมสีเหลืองและสีม่วง มีรสชาติเปรี้ยวอมหวานทานสดๆ ได้ ข้อเด่นของพันธุ์ผสมคือ ผลใหญ่ให้ผลดก มีรากหุ้ม เมล็ดบาง และต้านทานโรคได้ดี


-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
เอกสารอ้างอิง
รายงานการวิจัย วสาวี พิชัย สำนักสารสนเทศ วิทยบริการและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี
ช่อลัดดา เที่ยงพุก ฝ่ายกระบวนการผลิตและแปรรูป สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ฐานข้อมูลสมุนไพรไทย ม.อุบลราชธานี
ข้อมูลสมุนไพร สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ลิขสิทธิ์จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
http://www.oknation.net/blog/somchoke101/2008/10/30/entry
http://www.stou.ac.th/study/sumrit/1251(500)/page1-12-51(500).html
http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php
http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9520000087235
http://www.womenthai.com
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น