28 มีนาคม 2556

ความสุขของผู้สูงอายุ


ผู้สูงอายุหรืออาจเรียกว่า คนแก่ คนชรา ผู้สูงวัย หรือราษฎรอาวุโส  เป็นบุคคลที่ต้องพึ่งพา มีปัญหาจากการเสื่อมถอยของร่างกาย ซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติ ตามวัยที่เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งการมีโรคเรื้อรังต่าง ซึ่งมักเกิดขึ้นในช่วงสูงวัย การมีรายได้ลดลงหรือไม่มีรายได้ และมีปัญหาสุขภาพจิต เพราะเป็นวัยแห่งการพลัดพรากสูญเสีย ดังนั้น จึงเป็นวัยที่ต้องมีการดูแลเฉพาะแตกต่างจากวัยอื่น เพื่อให้ผู้สูงอายุ สามารถดูแลตนเองได้พอสมควรกับวัย มีสุขภาพแข็งแรงทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ เพื่อลดปัญหาของผู้สูงอายุเอง ของครอบครัว และของสังคม




การสร้างความสุขในผู้สูงอายุผู้สูงอายุจำเป็นต้องเอาใจใส่ดูแลตนเองให้มากขึ้น ลูกหลานก็ต้องดูแลเอาใจใส่ผู้สูงอายุเป็นอย่างดีด้วยเช่นกัน ส่วนใหญ่จะสนใจเฉพาะความเป็นอยู่ทั่วไป ไม่ค่อยสนใจเกี่ยวกับสุขภาพจิต  การที่จะให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตดีต้องพิจารณาว่าทำอย่างไรที่จะให้ผู้สูงอายุมีความสุขในการดำเนินชีวิตในแต่ละวัน ไม่ใช่เรื่องยากเท่าใดนักที่จะทำให้ตนเองและคนรอบข้างมีความสุข เพียงแต่ผู้สูงอายุและลูกหลาน เริ่มต้นที่จะสร้างความสุขให้กันและกัน





วิธีการที่ผู้สูงอายุจะสร้างความสุขให้ตนเอง
- การปรับตัวของผู้สูงอายุ คือ การปรับตัวทั้งด้านร่างกาย จิตใจ ความคิด อารมณ์ และสภาพความเป็นอยู่ของตนเอง ด้วยการเปิดใจยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น การดูแลสุขภาพกายสุขภาพจิต ผู้สูงอายุ จำเป็นต้องหมั่นไปตรวจร่างกายประจำปีอย่างสม่ำเสมอ   และเริ่มพบแพทย์แต่เนิ่น  ที่เริ่มมีอาการ ที่บ่งชี้ว่าเจ็บป่วย การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เหมาะสมกับวัย และสภาพร่างกายของตนเอง
- การใช้ชีวิตที่เรียบง่าย ด้วยการทำตัวตามสบาย ไม่ผูกมัดตนเองด้วยกฎเกณฑ์ต่าง มากมาย
- การสร้างอารมณ์ขัน การหัวเราะเป็นพลัง ที่ช่วยให้คนมีความสุข และมีกำลังใจในการดำเนินชีวิตในแต่ละวัน


วิธีการสร้างความสุขให้แก่ผู้สูงอายุ     
ลูกหลาน ญาติพี่น้อง  และผู้ดูแลผู้สูงอายุ เป็นบุคคลที่มีส่วนสำคัญอย่างมาก   การทำให้นั้นไม่ควรทำด้วยหน้าที่ เพราะไม่ได้ออกมาจากใจ การทำต้องทำด้วยใจ ด้วยความรัก และด้วยความปรารถนาดี วิธีการที่จะทำให้ผู้สูงอายุมีความสุข กระทำได้ดังนี้
- การปรับตัวของลูกหลาน ญาติพี่น้องและผู้ดูแล โดยการปรับใจ ปรับความคิด และหาวิธีการที่จะปรับการทำกิจวัตรประจำวัน และการทำงานของตนเอง ให้สอดรับกับการดูแลผู้สูงอายุ
- การเอาใจใส่ดูแลผู้สูงอายุด้วยความรัก  เพราะเมื่อเรารักใครเราก็จะทำสิ่งต่าง ให้กับคนที่เรารักเป็นอย่างดี โดยเฉพาะ-
- การได้ดูแลบุพการีหรือญาติผู้ใหญ่ที่เรารัก การที่ลูกหลานมาเยี่ยมเยียนบ่อยๆ  
- การที่ลูกหลานแสดงความรักด้วยการโอบกอด หรือหอมแก้ม เป็นสัมผัสที่ทำให้ผู้สูงอายุรับรู้ถึงความรัก และความสัมพันธ์ที่มีต่อผู้สูงอายุ
- การสร้างอารมณ์ขันให้ผู้สูงอายุ การได้ยั่วให้ยิ้มและหัวเราะจากใจ วันละครั้งด้วยการพูดหรือแสดงพฤติกรรมหยอกล้อให้ตลกหรือขำ ช่วยลดความซึมเศร้าและความเหงา ทำให้เกิดความรู้สึกที่ดีต่อกัน เกิดบรรยากาศอบอุ่นในครอบครัว                                                                                                 

ดังนั้น จะเห็นได้ว่าวิธีการสร้างความสุขในผู้สูงอายุไม่ใช่เป็นสิ่งที่ยากเพียงแต่ผู้สูงอายุเริ่มที่จะทำตนเองให้มีความสุข ลูกหลานญาติพี่น้อง  และผู้ดูแลหันมาสร้างความสุขให้ผู้สูงอายุ   ท่านั้นก็จะทำให้ทุกคนมีความสุข   ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา

การเตรียมความพร้อมสู่วัยสูงอายุ
การสร้างหลักประกันว่าจะมีสุขภาพ การกิน  การงาน และที่อยู่อาศัย  สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับวัย เมื่อก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุ ด้วยการคิด และวางแผนเตรียมความพร้อม เริ่มต้นออม ทั้ง ด้าน ตั้งแต่ก่อนวัยสูงอายุให้เร็วที่สุดคือ
การออมด้านสุขภาพ คือ การดูแลสุขภาพให้ดีอย่างสม่ำเสมอ
การออมด้านการเงิน คือ การสร้างหลักประกันทางการเงินให้เพียงพอกับการมีสุขภาพชีวิตที่ดีในวัยสูงอายุ
การออมด้านที่อยู่อาศัย คือ การเตรียมความพร้อมเรื่องบ้าน  และชุมชนที่จะอาศัยอยู่ในอนาคต
ลัก คือ  ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการเตรียมพร้อม  ทั้ง ด้าน กับคนทุกกลุ่มที่มีอายุก่อนวัยสูงอายุ ทั้งกลุ่มเด็ก วัยรุ่น  
วัยทำงาน  จนก่อนอายุ ๖๐ ปี                                                                      
--------------------------------------------------------------------------------------- 

                                  วันนี้ คุณเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่วัยสูงอายุ แล้วหรือยัง
---------------------------------------------------------------------------------------
แหล่งที่มา/อ้างอิง
พญ.ลัดดา  ดำริการเลิศ ผู้จัดการแผนงานวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส) www.thaitgri.org.http://haamor.com/knowledge เข้าถึงเมื่อ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๕
http://www.stou.ac.th/stoukc/elder/main1_9.html เข้าถึงเมื่อ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๕
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น